Exploding Purple Arrow Glitter

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

Course Syllabus

 แนวการสอน (Course Syllabus) 

ชื่อวิชา (ภาษาไทย)              การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อวิชา (ภาษาอังกฤษ)         Science Experiences Management for Early Childhood
รหัสวิชา                               EAED3207                              จำนวนหน่วยกิต 3(2-2-5)
ผู้สอน                                  อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ     E-mail : jintana-su@hotmail.com
เวลาเรียน                            กลุ่ม 101 วันอังคาร คาบ 1-4 เวลา 08.30 - 12.30 น.  ห้อง 34-501 (ชั้น5)
สถานที่ติดต่อ                      ห้องพักอาจารย์ชั้น 2 อาคาร 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

_____________________________________________________________________________

คำอธิบายรายวิชา

               ศึกษาความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎี และหลักการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แนวคิดและทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา การประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การออกแบบและวางแผนกิจกรรมบูรณาการประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การผลิตสื่อวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย การใช้คำถามพัฒนาการคิด การใช้คำถามพัฒนาการคิด การใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ บทบาทของครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์


วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สื่อเข้ามุม กลองกระป๋อง


สื่อเข้ามุม กลองกระป๋อง

อุปกรณ์ในการทำ
1.กระป๋องขนมขนาดต่างๆ
2.กระดาษแข็ง
3.เทปกาว
4.ตะเกียบ

วิธีการทำ
1.นำกระป๋องขนมที่มีมาเรียงกันจากนั้นใช้เทปกาวมาติดให้กล่องทุกใบติดกัน
2.นำกระดาษแข็งมาม้วนทำเป็นขากลองทั้ง 4 ขา
3.นำตะเกียบมาทำเป็นไม้ตีกลอง

สิ่งที่ได้จากการใช้สื่อ
       ทำให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสด้านหูในการฟังเสียงจากการตีกระป๋องแต่ละใบที่มีระดับเสียงที่แตกต่างกัน ฝึกให้เด็กรู้จักการแยกและจำแนกเสียง อีกทั้งยังได้ใช้ประสาทสัมผัสด้านตาในการมองและประสามสัมผัสด้านมือในการสัมผัส




วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สื่อของเล่น จรวดอวกาศ



สื่อของเล่นจรวดอวกาศ







อุปกรณ์ในการทำ

  

ขวดนำ้ขนาดเท่ากัน 2 ใบ

เชือกร่ม

เทปสี
 



คัตเตอร์



วิธีการทำ

           1. นำขวดทั้ง 2 ใบมาตัดให้เหลือบริเวณคอขวด


            2. นำขวดที่ตัดไว้มาต่อกัน


           3.ใช้เทปสีพันบริเวณรอยต่อของขวด


             4. นำเชือกร่มมาร้อยเข้าไปในขวดโดยให้ปลายทั้งสองข้างเท่ากัน


              5. มัดปลายเชือกให้เป็นห่วงสำหรับจับ











วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สรุปวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ


วิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ปริญญานิพนธ์ ของ เอราวรรณ  ศรีจักร
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พฤศจิกายน  2550 

ความมุ่งหมายของการวิจัย 

1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจําแนกรายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ 
2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ขอบเขตของการวิจัย 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 
ประชากร 
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชาย – หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่ง กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร     เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2  
กลุ่มตัวอย่าง 
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย – หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี  ซึ่ง กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร     เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร  เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากเลือกจํานวน 1 ห้องเรียน จากจํานวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง จํานวน 15 คน  
ระยะเวลาในการทดลอง 
การศึกษาครั้งนี้ ทําการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ใช้เวลาในการ ทดลอง 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา 

1. ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์  
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ  
2.1 การสังเกต  
2.2 การจําแนกประเภท  
2.3 การสื่อสาร  
2.4 การลงความเห็น

ตัวอย่างแผนการสอน







ตัวอย่างแบบประเมินทักษะการสังเกต



ตัวอย่างแบบประเมินทักษะการจำแนก





สรุปผลการศึกษาค้นคว้า 

1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใช้กิจกรรม การเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจําแนกรายทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ ทักษะการจําแนกประเภท  

2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

สรุปบทความเรื่อง สร้างวัยคิดส์ให้เป็นนักคิด


สรุปบทความเรื่อง สร้างวัยคิดส์ให้เป็นนักคิด

      สำหรับลูกน้อยวัย 3-6 ปี นอกจากพัฒนาการด้านร่างกายที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วแล้ว สมองที่ได้
รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เด็ก เมื่อถึงวัยนี้สิ่งหนึ่งที่จะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กคือ การเป็นเด็กช่างคิด เพราะกรที่ลูกเป็นนักคิดนั้นคือพื้นฐานของการเป็นเด็กฉลาด สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง 

จาก "เด็กช่างคิด" สู่การเป็น "นักคิด"
      เมื่อลูกน้อยเกิดความสงสัยในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว กระบวนการคิดวิเคราะห์ของสมองก็จะเริ่มทำงานขึ้น เพื่อให้ลูกน้อยสามารถหาเหตุผลหรือคำตอบให้กับตัวเอง และเมื่อเด็กหาคำตอบให้กับความสงสัยของตัวเองได้ จะเกิดความรู้สึกสนุกไปกับการคิด ส่งผลให้เป็นเด็กช่างคิด

การเป็นนักคิดสำคัญอย่างไรต่อลูกน้อย
      การที่เขาได้ใช้ความคิดอย่างสม่ำเสมอ นั่นหมายถึงสมองของลูกน้อยได้ทำงานอยู่ตลอดเวลา หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าการพัฒนาแบบไม่หยุดนิ่ง เพราะการคิดเปรียบเสมือนแบบฝึกหัดหรืออาหารชนิดหนึ่งของสมอง และเมื่อสมองได้ทำงานอย่างเต็มที่ ก็จะช่วยให้สมองมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่รวดเร็ว และเต็มประสิทธิภาพ

9 How to เทคนิคฝึกลูกเป็นนักคิด
            
            1. ฝึกคิดจากสิ่งที่ง่ายไปยาก ไม่ยัดเยียดความคิดที่ซับซ้อนจนเกินไป โดยเริ่มจากกิจกรรมง่ายๆ เช่น การฟังเพลง การเล่านิทาน การเล่นของเล่นง่ายๆ เป็นต้น

            2. สร้างนิสัยอยากรู้ อยากเห็น เช่น การพาลูกออกไปพบเจอสิ่งแวดล้อมนอกบ้าน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกน้อย รู้สึกตื่นเต้นและอยากค้นหา

            3. ตั้งคำถามง่าย ๆ ให้ลูกได้ฝึกคิด คุณแม่ลองเริ่มต้นจากการเล่านิทาน ลองตั้งเป็นคำถามง่าย ๆ ให้ลูกได้ลองคิด ลองตอบ เช่น “หมาป่าเข้าบ้านหมู 3 ตัวได้แล้ว หมู 3 ตัวจะทำยังไงดีนะ”

            4. ฝึกให้ลูกรู้จักเปรียบเทียบความเหมือน ความแตกต่าง คุณแม่ต้องสอนลูกว่านี่คือ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลมหรือลูกกลมๆ นี้เรียกว่าส้ม ลูกนี้เรียกว่ามะนาว หรืออาจให้ลูกเล่นกล่องหยอดรูปทรงก็ช่วยได้เช่นกัน

            5. ตั้งคำถามกระตุ้นจินตนากา โดยการเปิดโอกาสให้ลูกได้สื่อออกมาถึงพลังความคิดและทักษะการแก้ปัญหา อาจจะเริ่มจากการอ่านนิทานด้วยกัน แล้วลองถามลูกเพื่อต่อยอด ด้วยการสร้างนิทานเรื่องใหม่จากเค้าโครงนิทานเรื่องเดิม

            6. พัฒนาทักษะการคิดควบคู่ไปกับทักษะการแก้ปัญห ลองสมมุติเหตุการณ์ง่ายๆ เพื่อให้ลูกได้ตอบ เช่น "ถ้าลูกหลงทางจะทำยังไงดี" ควรปล่อยให้ลูกได้ตอบคำถามและแสดงความคิดอย่างเต็มที่ อย่าปิดกั้นความคิด และรับฟังทุกคำตอบที่ลูกบอก โดยคุณแม่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพิ่มเติม

            7. สนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กมีอิสระในการคิด คุณแม่อาจให้ลูกได้แสดงความคิดหินด้วยคำถามหรือกิจกรรมใกล้ตัว เช่น "วันนี้เราจะทำอาหารอะไรกินกันช่วงกลางวัน" "วันนี้จะเลือกอ่านนิทานเล่มไหน"

            8. สร้างความมั่นใจ พร้อมทั้งให้กำลังใจ เมื่อลูกให้คำตอบใด ๆ คุณแม่ควรชื่นชมกับคำตอบและให้กำลังใจลูก เพื่อให้ลูกเกิดความมั่นใจ แต่ถ้าหากลูกทำในสิ่งที่ผิด คุณแม่ควรอธิบายหรือบอกลูกด้วยท่าทีอ่อนโยน

            9. ให้เวลาคิด ไม่เร่งรัด เพราะเด็กยังไม่สามารถคิดได้รวดเร็วเท่าผู้ใหญ่ การที่เราเร่งหรือคาดคั้น อาจทำให้เด็กเกิดความเครียด จึงไม่กล้าคิดและแสดงความคิดเห็นอีกต่อไป

          *** เทคนิคทั้ง 9 ข้อที่กล่าวมานี้ ถือเป็นบันไดก้าวแรกที่จะช่วยให้ลูกได้ฝึกคิดอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาสู่การเป็นนักคิดที่ดีในอนาคต ***

สรุปตัวอย่างการสอนเรื่อง ปฐมวัยสร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส


สรุปตัวอย่างการสอนเรื่อง ปฐมวัยสร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส

    - ในการจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยนั้นเป็นการเตรียมความพร้อมในทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา 
    - ในการสอนนั้นครูจะเน้นการใช้ของจริงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้
    - ในการเรียนการสอนนั้นจะมีการถามประสบการณ์เดิมของเด็กเพื่อให้เด็กรู้จักการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่
    
กระบวนการสอนของครู

ขั้นที่ 1 : การใช้ตาในการสังเกต  
     โดยครูจะให้เด็กใช้ตาในการมองสิ่งของแล้วสังเกตรูปร่าง รูปทรงของสิ่งของแล้วให้เด็กตอบว่าสิ่งของที่เห็นนั้นมีรูปร่าง รูปทรงอย่างไร แล้วถามเด็กว่ามีสิ่งของใดบ้างที่มีรูปทรงแบบนี้ จากนั้นให้เด็กสังเกตขนาดของสิ่งของแล้วนำไปสู่เปรียบเทียบขนาดเล็ก-ใหญ่ของสิ่งของที่กำหนดให้ หลังจากนั้นครูจะให้เด็กฝึกการแยกแยะขนาดด้วยตนเองโดยการเล่นเกมกระบอกพิมพ์ นอกจากเด็กจะได้ใช้ตาในการสังเกตแล้วยังได้ทักษะการพยากรณ์หรือการคาดคะเนอีกด้วย
ขั้นที่ 2 : การใช้หูในการฟัง
     โดยครูจะให้เด็กได้ฟังเสียงที่แตกต่างกันจากการเขย่ากล่องเสียงจากเสียงดังที่สุดไปหาเสียงที่เบาที่สุด จากนั้นให้เด็กออกมาเขย่ากล่องเสียงแล้วจับคู่เสียงที่มีระดับความดังเท่ากัน
ขั้นที่ 3 : การใช้มือในการสัมผัส
     โดยการให้เด็กได้สัมผัสจากของจริงโดยเริ่มจากากสิ่งของที่มีรูปทรงเรขาคณิต จนไปถึงการสัมผัสเนื้อผ้าที่มีความละเอีดยของเนื้อผ้าแตกต่างกัน แล้วให้เด็กปิดตาแล้วใช้มือในการสัมผัสเนื้อผ้าเพื่อจับคู่ผ้าที่มีความละเอียดแบบเดียวกันหรือเป็นผ้าชนิดเดียวกัน
ขั้นที่ 4 : การใช้จมูกในการดมกลิ่น
     โดยการให้เด็กทดลองดมกลิ่นต่างๆแล้วเด็กสามารถบอกได้ว่ากลิ่นที่ได้ดมนั้นเป็นกลิ่นอย่างไร เห็น หอมหรือเป็นกลิ่นแบบใด จากนั้นครูจะให้เด็กดมกลิ่นแล้วจับคู่กลิ่นที่เหมือนกันเพื่อทดสอบว่าเด็กเกิดการเรียนรู้จากการดมกลิ่นแล้ว
ขั้นที่ 5 : การใช้ลิ้นในการชิมรส
     โดยครูจะมีรสชาติให้เด็กชิม 4 รสชาติ คือ หวาน เปรี้ยว เค็มและขม เมื่อครูทดลองชิมสิ่งที่เตรียมมาแล้วเด็กสามารถตอบได้ว่าครูกำลังชิมรสชาติใดจากการที่เด็กสังเกตสีหน้าของครูในขณะที่ชิม นั้นเกิดจากการที่เด็กเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมของเด็กเอง และครูยังให้เด็กได้ชิมรสชาติต่างๆแล้วบอกว่าเคยได้ชิมรสชาติแบบนี้จากอะไรบ้าง

*** หัวใจในการเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การให้เด็กเตรียมพร้อมที่จะเรียนในขั้นที่สูงต่อไป***