Exploding Purple Arrow Glitter

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

ประจำวัน อังคาร ที่ 3 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

 จากการที่ นางสาว ฐิราภรณ์    เพ็ชร  ได้ศึกษาวิจัยและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
 เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวืทยาศาสตร์ 
พบว่า ในวิจัยชิ้นนี้มีการทำการทดลอง 8 ครั้งและในการทดลองครั้งที่ 1 มีการประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์ 4 ทักษะ ดังนี้
1. การสังเกต : โดยการให้เด็กเลือกดอกไม้คนละ 1 ดอก
2. การจำแนก : โดยการให้เด็กนั่งเป็นกลุ่มตามชนิดของดอกไม้
3. ด้านมิติสัมพันธ์ : โดยการให้เด็กบอกว่าดอกไม้ที่เด็กเลือกนั้น มีสีอะไร มีลักษณะอย่างไร
4. ด้านการลงความคิดเห็น : โดยการให้เด็กสรุปผลการทดลองจากการทดลองหาวิธีที่ทำให้ได้สีจากดอกไม้นอกจากการขยี้ดอกไม้ลงบนกระดาษ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. เผชิญปัญหา
2. กำหนดขอบเขตของปัญหา
3. ตั้งสมมติฐาน
4. ทดลองและรวบรวมข้อมูล
5. วิเคราะห์ข้อมูล
6. สรุปและนำไปใช้

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
1. การสังเกต
   - การกระทำโดยใช้สัมผัสทั้ง 5 คือ ตา-ดู  หู-ฟัง  กาย-สัมผัส  จมูก-ดมกลิ่น  ลิ้น-ชิมรส
   - จะทำให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณและข้อมูลที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
2. การวัด
   - ต้องดูว่า จะวัดอะไร  วัดทำไม  ใช้เครื่องมืออะไรในการวัดและวัดได้อย่างไร
3. การจำแนก
   - เกณฑ์การจำแนกนั้นขึ้นอยู่กับผู้เรียนจะเลือกว่าจะใช้เกณฑ์ใดในการจำแนก
   - ตัวอย่างเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนก เช่น ดูความเหมือน-ความต่าง  ดูความสัมพันธ์  เป็นต้น
4. ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
   - สเปสกับสเปส : การหารูปร่างของวัตถุโดยสังเกตจากเงาของวัตถุ เมื่อให้แสงตกกระทบวัตถุในมุมต่างๆกัน เป็นต้น
   - เวลากับเวลา : การหาความสัมพันธ์ระหว่างจังหวะการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกากับจังหวะการเต้นของหัวใจ
5. การคำนวน 
6. การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
   - การนำเอาข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การทดลองและอื่นๆมาจัดกระทำใหม่
   - การนำเอาข้อมูลดิบ มาจัดเรียงลำดับ หาค่าความถี่ แยกประเภท คำนวณหาค่าใหม่แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปแบบใหม่ อาทิ แสดงข้อมูลในรูปแผนภูมิ กราฟ วงจรหรือสมการ  เป็นต้น
7. การลงความคิดเห็นจากข้อมูล
   - คือ ความชำนาญในการอธิบายสิ่งที่ได้จากการสังเกตเกี่ยวกับวัตถุหรือเหตุการณ์เฉพาะอย่าง
   - สามารถแยกความแตกต่างระหว่างการสังเกตและการลงความเห็นข้อมูลได้
   - สามารถแปลความหมายข้อมูลที่บันทึกไว้แล้วนำมาทำนายเหตุการณ์จากข้อมูลได้
   - เป็นการอธิบายที่อาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมหรือความคิดเห็นส่วนตัวลงไปด้วย
8. การพยากรณ์
   - คือ การคาดคะเนหาคำตอบล่วงหน้าที่จำทำการทดลองโดยอาศัยจากการสังเกต การวัด รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษามาแล้ว หรืออาศัยประสบการณ์ที่เกิดซำ้ๆ

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

1. การสังเกต                                 Observation
2. การวัด                                       Measurement
3. การจำแนก                                Decomposition
4. มิติสัมพันธ์                                Relationship
5. การคำนวณ                               Calculation
6. การสื่อความหมาย                    Desclibed
7. การลงความเห็น                       Ascription
8. การพยากรณ์                            Forecast

การนำไปประยุกต์ใช้

    เราสามารถสอดแทรกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปในชีวิตประจำวันของเด็กได้อยู่ตลอด อยู่ที่
การบูรณาการของครูว่าจะใช้วิธีการใดในการสอนให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ทั้ง ทักษะการสังเกต ทักษะการวัด ทักษะการจำแนก ทักษะการคำนวณ ทักษะมิติสัมพันธ์ ทักษะการจัดกระทำและสื่อสารข้อมูล ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลและทักษะการพยากรณ์

การประเมิณ

ตนเอง : มีการจดบันทึก สรุปความรู้ มีการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์และเพื่อนในห้อง
เพื่อน : มีการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามของอาจารย์
อาจารย์ : กระตุ้นให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์อยู่ตลอดเวลา มีสื่อในการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น