Exploding Purple Arrow Glitter

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

ประจำวัน อังคาร ที่ 14 เดิอน พฤศจิกายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

การปรับแก้และทำแผ่นชาร์ตที่ใช้สอนในหน่วยต่างๆ







กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ประกอบด้วย 8 สาระ  ดังนี้

สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต  การถ่ายทอดทางพันธุกรรม วิวัฒนาการ ความหลากหลายทางชีวภาพและธรรมชาติรอบตัวเด็ก เด็กสามารถสังเกตเห็นสิ่งเหล่านี้ได้ เห็นลักษณะและเห็นกระบวนการดำรงชีวิต เช่น หน่วย ข้าว เด็กจะได้เรียนรู้กระบวนการเจริญเติบโตของต้นข้าว ตั้งแต่ เป็นเมล็ด เป็นต้นอ่อน เป็นต้นโตเต็มที่ จนกระทั่งสุกเหลือง

สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

เกี่ยวกับ สิ่งต่างๆรอบตัวที่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ให้เด็กรู้จักการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่าง ให้เด็กได้สำรวจและสังเกตเพื่อเก็บข้อมูล จากนั้นนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบ ให้เด็กได้รู้จักและเข้าใจเรื่อง ทรัพยากร

สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร

เกี่ยวกับ การทำให้เด็กได้เห็นเละเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ การแปรรูปสิ่งต่างๆ อาทิ กล้วย นำมาทำ กล้วยฉาบ เป็นต้น การประกอบอาหาร อาทิ ไข่ นำมาทำ ไข่ตุ๋น ไข่เจียว ไข่ลูกเขย เป็นต้น การเพาะขยายพันธุ์ อาทิ การปลูกข้าว เป็นต้น เด็กจะได้สังเกตและอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เห็น

สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่

เกี่ยวกับ เด็กจะได้เรียนรู้การเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ อาจมีการให้เด็กทดลอง สังเกตและสรุปผลร่วมกัน เด็กจะได้เรียนรู้เรื่อง แรง ที่พบในชีวิตประจำวัน

สาระที่ 5 : พลังงาน

เกี่ยวกับ การใช้พลังงานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น พลังงานความร้อน นำมาใช้ในการประกอบอาหาร ทำให้อารสุก เช่น การนำไข่มาต้ม พลังงานความร้อนจากเตาจะผ่านไปยังหม้อทำให้นำ้ร้อนและต้มไข่จนสุก เป็นต้น

สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก

เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงของโลกส่งผลอย่างไรต่อประชากร หรือสิ่งที่เรากำลังศึกษา เช่น ในหน่วย หมึก หากในฤดูที่มีความยาวของกลางวันนานกว่ากลางคืน จะส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ ส่งผลต่อรายได้ของคนที่ทำอาชีพตกหมึก เนื่องจากการตกหมึกต้องตกในเวลากลางคืนเท่านั้น หากช่วงกลางคืนมีระยะสั้นก็จะตกหมึกได้น้อย เป็นต้น

สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ

เกี่ยวกับ เรียนรู้เรื่อง กลางวัน-กลางคืน ปรากฎการณ์ทางดาราาสตร์ เช่น ดาวตก เป็นต้น

สาระที่ 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เกี่ยวกับ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ
- การตั้งคำถาม
-  การตั้งสมมติฐาน
- การทดลอง
- การสรุปผล
- การย้อนกลับไปดูสมมตติฐาน
- การรายงานผลและนำเสนอ

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

กรอบมาตรฐาน                      Standard frame
วิทยาศาสตร์                          Science
สิ่งมีชีวิต                                Organism
พลังงาน                                Energy
แรง                                       Force
การเคลื่อนที่                         Movement
กระบวนการ                          Process
ดาราศาสตร์                         Astronomy
อวกาศ                                 Space

การนำไปประยุกต์ใช้

        ในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ต้องมีการบูรณาการวิชาต่างๆเข้าไปเพื่อให้เด็กเกิดทักษะและการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  ในบางเรื่องอาจเป็นเรื่องที่ยากต่อการอธิบายให้เด็กเข้าใจ เราจึงสามารถใช้วิธีการให้เด็กได้ลงมือทำและหาคำตอบด้วยตัวเองเพื่อให้เด็กรู้จักและเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการสอนด้วยตัวของเด็กเอง

การประเมินผล

ตนเอง : มีการคิด วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในห้อง
เพื่อน : บางส่วนมีการตอบคำถาม มีการแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกับอาจารย์ บางส่วนนั่งฟังอย่างเดียว บางส่วนมีการจดบันทึกความรู้ต่างๆในการเรียน
อาจารย์ : มีการกระตุ้นให้คิดและวิเคราะห์ตลอดเวลา มีการให้คำแนะนำในการทำแผ่นชาร์ตในหน่วยต่างๆ มีการให้เทคนิควิธีการในการคิดและวางแผน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น