Exploding Purple Arrow Glitter

วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สรุปวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ


วิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ปริญญานิพนธ์ ของ เอราวรรณ  ศรีจักร
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พฤศจิกายน  2550 

ความมุ่งหมายของการวิจัย 

1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจําแนกรายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ 
2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ขอบเขตของการวิจัย 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 
ประชากร 
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชาย – หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่ง กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร     เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2  
กลุ่มตัวอย่าง 
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย – หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี  ซึ่ง กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร     เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร  เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากเลือกจํานวน 1 ห้องเรียน จากจํานวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง จํานวน 15 คน  
ระยะเวลาในการทดลอง 
การศึกษาครั้งนี้ ทําการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ใช้เวลาในการ ทดลอง 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา 

1. ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์  
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ  
2.1 การสังเกต  
2.2 การจําแนกประเภท  
2.3 การสื่อสาร  
2.4 การลงความเห็น

ตัวอย่างแผนการสอน







ตัวอย่างแบบประเมินทักษะการสังเกต



ตัวอย่างแบบประเมินทักษะการจำแนก





สรุปผลการศึกษาค้นคว้า 

1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใช้กิจกรรม การเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจําแนกรายทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ ทักษะการจําแนกประเภท  

2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น