Exploding Purple Arrow Glitter

วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สรุปบทความเรื่อง สร้างวัยคิดส์ให้เป็นนักคิด


สรุปบทความเรื่อง สร้างวัยคิดส์ให้เป็นนักคิด

      สำหรับลูกน้อยวัย 3-6 ปี นอกจากพัฒนาการด้านร่างกายที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วแล้ว สมองที่ได้
รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เด็ก เมื่อถึงวัยนี้สิ่งหนึ่งที่จะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กคือ การเป็นเด็กช่างคิด เพราะกรที่ลูกเป็นนักคิดนั้นคือพื้นฐานของการเป็นเด็กฉลาด สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง 

จาก "เด็กช่างคิด" สู่การเป็น "นักคิด"
      เมื่อลูกน้อยเกิดความสงสัยในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว กระบวนการคิดวิเคราะห์ของสมองก็จะเริ่มทำงานขึ้น เพื่อให้ลูกน้อยสามารถหาเหตุผลหรือคำตอบให้กับตัวเอง และเมื่อเด็กหาคำตอบให้กับความสงสัยของตัวเองได้ จะเกิดความรู้สึกสนุกไปกับการคิด ส่งผลให้เป็นเด็กช่างคิด

การเป็นนักคิดสำคัญอย่างไรต่อลูกน้อย
      การที่เขาได้ใช้ความคิดอย่างสม่ำเสมอ นั่นหมายถึงสมองของลูกน้อยได้ทำงานอยู่ตลอดเวลา หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าการพัฒนาแบบไม่หยุดนิ่ง เพราะการคิดเปรียบเสมือนแบบฝึกหัดหรืออาหารชนิดหนึ่งของสมอง และเมื่อสมองได้ทำงานอย่างเต็มที่ ก็จะช่วยให้สมองมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่รวดเร็ว และเต็มประสิทธิภาพ

9 How to เทคนิคฝึกลูกเป็นนักคิด
            
            1. ฝึกคิดจากสิ่งที่ง่ายไปยาก ไม่ยัดเยียดความคิดที่ซับซ้อนจนเกินไป โดยเริ่มจากกิจกรรมง่ายๆ เช่น การฟังเพลง การเล่านิทาน การเล่นของเล่นง่ายๆ เป็นต้น

            2. สร้างนิสัยอยากรู้ อยากเห็น เช่น การพาลูกออกไปพบเจอสิ่งแวดล้อมนอกบ้าน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกน้อย รู้สึกตื่นเต้นและอยากค้นหา

            3. ตั้งคำถามง่าย ๆ ให้ลูกได้ฝึกคิด คุณแม่ลองเริ่มต้นจากการเล่านิทาน ลองตั้งเป็นคำถามง่าย ๆ ให้ลูกได้ลองคิด ลองตอบ เช่น “หมาป่าเข้าบ้านหมู 3 ตัวได้แล้ว หมู 3 ตัวจะทำยังไงดีนะ”

            4. ฝึกให้ลูกรู้จักเปรียบเทียบความเหมือน ความแตกต่าง คุณแม่ต้องสอนลูกว่านี่คือ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลมหรือลูกกลมๆ นี้เรียกว่าส้ม ลูกนี้เรียกว่ามะนาว หรืออาจให้ลูกเล่นกล่องหยอดรูปทรงก็ช่วยได้เช่นกัน

            5. ตั้งคำถามกระตุ้นจินตนากา โดยการเปิดโอกาสให้ลูกได้สื่อออกมาถึงพลังความคิดและทักษะการแก้ปัญหา อาจจะเริ่มจากการอ่านนิทานด้วยกัน แล้วลองถามลูกเพื่อต่อยอด ด้วยการสร้างนิทานเรื่องใหม่จากเค้าโครงนิทานเรื่องเดิม

            6. พัฒนาทักษะการคิดควบคู่ไปกับทักษะการแก้ปัญห ลองสมมุติเหตุการณ์ง่ายๆ เพื่อให้ลูกได้ตอบ เช่น "ถ้าลูกหลงทางจะทำยังไงดี" ควรปล่อยให้ลูกได้ตอบคำถามและแสดงความคิดอย่างเต็มที่ อย่าปิดกั้นความคิด และรับฟังทุกคำตอบที่ลูกบอก โดยคุณแม่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพิ่มเติม

            7. สนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กมีอิสระในการคิด คุณแม่อาจให้ลูกได้แสดงความคิดหินด้วยคำถามหรือกิจกรรมใกล้ตัว เช่น "วันนี้เราจะทำอาหารอะไรกินกันช่วงกลางวัน" "วันนี้จะเลือกอ่านนิทานเล่มไหน"

            8. สร้างความมั่นใจ พร้อมทั้งให้กำลังใจ เมื่อลูกให้คำตอบใด ๆ คุณแม่ควรชื่นชมกับคำตอบและให้กำลังใจลูก เพื่อให้ลูกเกิดความมั่นใจ แต่ถ้าหากลูกทำในสิ่งที่ผิด คุณแม่ควรอธิบายหรือบอกลูกด้วยท่าทีอ่อนโยน

            9. ให้เวลาคิด ไม่เร่งรัด เพราะเด็กยังไม่สามารถคิดได้รวดเร็วเท่าผู้ใหญ่ การที่เราเร่งหรือคาดคั้น อาจทำให้เด็กเกิดความเครียด จึงไม่กล้าคิดและแสดงความคิดเห็นอีกต่อไป

          *** เทคนิคทั้ง 9 ข้อที่กล่าวมานี้ ถือเป็นบันไดก้าวแรกที่จะช่วยให้ลูกได้ฝึกคิดอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาสู่การเป็นนักคิดที่ดีในอนาคต ***

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น