Exploding Purple Arrow Glitter

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
ประจำวันอังคาร ที่ 22 เดือน สิงหาคม พ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
    
ในคาบนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมร่วมกันในห้อง โดยมีการดำเนินกิจกรรม ดังนี้
โจทย์ในการทำกิจกรรม คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้กระดาษลอยอยู่ในอากาศให้ได้นานที่สุด

ครั้งที่หนึ่ง   อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละหนึ่งแผ่น แล้วให้แต่ละคนคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้กระดาษของตนลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด พบว่า บางคนก็ใช้กระดาษในการพับจรวดให้ร่อนอยู่ในอากาศให้นานที่สุด บางคนใช้การร่อนแผ่นกระดาษทั้งแผ่นโดยไม่มีการดัดแปลงใดๆ หลังจากทำการทดลองร่อนแล้วได้ว่า กระดาษที่พับเป็นจรวดสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานช่วงเวลาหนึ่งซึ่งนานกว่าการร่อนแผ่นกระดาษที่ไม่ผ่านการดัดแปลงใดๆเลย


ครั้งที่สอง   อาจารย์ให้จับกลุ่มและช่วยกันระดมความคิดว่า ทำอย่างไรจะให้กระดาษลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด แต่ละกลุ่มต่างช่วยกันคิด ช่วยกันดัดแปลงกระดาษของกลุ่มตัวเอง และพบว่าแต่ละกลุ่มยังคงใช้ การพับกระดาษเป็นจรวดเพื่อให้ร่อนอยู่ในกระดาษ หลังจากลองร่อนแล้วก็มาช่วยกันอภิปรายว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการร่อนของจรวด สรุปได้ คือ ปัจจัยที่มีผลต่อการร่อนอยู่ในอากาศของจรวด ได้แก่ มวลปริมาณ องศาในการปาจรวดออกจากมือ แรงส่งจรวดในการปาแต่ละครั้ง เป็นต้น


ครั้งที่สาม   อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดอีกครั้งว่านอกจากการพับกระดาษเป็นจรวดแล้วยังมีวิธีการใดอีกบ้างที่ทำให้กระดาษลอยอยู่ในอากาศได้นาน ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีความคิดที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
กลุ่มแรก ใช้การฉีกกระดาษเป็นชิ้นเล็กๆแล้วใช้พัดในการพัดเพื่อให้ลมช่วยพยุงกระดาษลอยอยู่ในอากาศให้นานที่สุด
กลุ่มที่สอง ใช้การพับเป็นลูกยางเนื่องจากเคยเห็นว่าลูกยางสามารถร่อนจากด้านบนลงสู่ด้านล่างได้โดยใช้เวลาระยะหนึ่ง จึงตัดสินใจพับเป็นลูกยาง


กลุ่มที่สาม  ใช้การพับเป็นลูกยางเช่นเดียวกันกับกลุ่มที่สอง แต่ของกลุ่มที่สามนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าของกลุ่มที่สอง
     เมื่อทดลองร่อนพบว่าของกลุ่มที่หนึ่งสามารถร่อนอยู่ในกระดาษได้นานที่สุด ตามมาด้วยกลุ่มที่สองและสาม ตามลำดับ 
     หลังการทดลอง ได้ข้อสรุปว่า ปัจจัยที่ทำให้วัตถุลอยอยู่ในอากาศได้นั้น มีหลายปัจจัย แต่มีปัจจัยที่สำคัญอยู่หนึ่งอย่าง คือ ลม ซื่ง ลม คือ อากาศที่เคลื่อนที่ 


  
คำศัพท์น่ารู้

     Force     แรง
     
     Wind power    แรงลม
     
     Hover     บินร่อน

     Mass       มวล

     Rocket    จรวด

     
     
  การนำไปประยุกต์ใช้
      
         การที่เราจะสอนเด็กเราควรให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง โดยเราเป็นผู้อำนวยความสะดวกและคอยดูแล เพราะการที่เด็กได้ลงมือทดลองเองนั้น เด็กจะได้รู้จักการคิด วิเคราะห์และการการแก้ปัญหาที่พบระหว่างการปฏิบัติกิจกรรม

การประเมิน

      ตนเอง : ร่วมคิดและปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียน มีการใช้เทคโนโลยีในการช่วยแก้ไขปัญหาและเป็นแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรม
      เพื่อน : เพื่อนทุกคนช่วยกันคิด มีทั้งมาจากประสบการณ์เดิมและความคิดที่แปลกใหม่ มีการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
      อาจารย์ : มีการอำนวยความสะดวกด้านอุปกรณ์ มีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดและแก้ปัญหาต่างๆด้วยตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น