Exploding Purple Arrow Glitter

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

ประจำวัน อังคาร ที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

  • ทบทวนกระบวนการวิทยาศาสตร์

   ดังนี้ 1. ตั้งปัญหา
           2. ตั้งสมมติฐาน
           3. ทดลอง
           4. สังเกตการเปลี่ยนแปลง
           5. สรุปผลการทดลอง
*** การทดลองนั้นต้องมีการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ***
- ในช่วงของการทดลองเด็กจะมีการสังเกตเพื่อหาคำตอบของประเด็นปัญหา เพื่อรวบรวมข้อมูลและนำไปสู่การสรุปผลการทดลอง
- การทดลองบางอย่างไม่ได้เกิดจากการตั้งประเด็นปัญหาแต่เกิดจากความอยากรู้
- ในการทดลองไม่ควรมีตัวแปรแทรกซ้อน
- ในการทดลองต้องมีตัวแปรต้นชนิดเดียวกัน ปริมานเท่ากัน
  • การทดลองสีเต้นระบำ
          เมื่อหยดนำ้ยาล้างจานลงในนม ซึ่งนมมีไขมันทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างนำ้ยาล้างจานกับไขมันในนม เมื่อหยดสีลงไปจะเห็นว่า สีแตกออก เนื่องจาก โมเลกุลเกิดการขยายตัวทำให้เห็นเหมือนสีเต้นแล้วแตกออก

  • การทดลองตัวทำละลาย
 - เมื่อใส่ทรายลงในแก้วนำ้ ระดับนำ้จะสูงขึ้นเนื่องจากทรายจะไปแทนที่นำ้
 - เมื่อนำเกลือใส่ลงไปในแก้วนำ้ เกลือจะเกิดการละลายรวมไปกับนำ้ เราจะไม่เห็นตะกอนเกลือในก้นแก้ว
 - เมื่อเราตักนำ้ที่ละลายเกลือมาใช้ความร้อนในการรนที่ช้อน จะเห็นเกลือตกผลึกอยู่ที่ช้อน
*** นำ้เป็นตัวทำละลายที่ดี แต่วัตถุบางชนิดไม่สามารถละลายในนำ้ได้ ***
  • หลักในการเลือกเรื่องสอนเด็ก
 - ใกล้ตัวเด็ก
 - อยู่ในชีวิตประจำวัน
 - ส่งผลกระทบกับเด็ก
  • การทำ cooking เกี๊ยวทอด
          เริ่มตั้งแต่การออกแบบรูปเกี๊ยวที่จะพับ ส่วนประกอบของไส้เกี๊ยว สัดส่วนของไส้ในการห่อเกี๊ยว 1 แผ่น จากนั้นก็ลงมือทำ โดยทำเป็นกลุ่ม ทีละกลุ่ม ทีละขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การเตรียมสัดส่วนไส้เกี๊ยว การห่อเกี๊ยวและการทอดเกี๊ยว










คำศัพท์ที่เกียวข้อง

ตัวแปรต้น                         Variables
การละลาย                        Melting
ตกตะตกอน                      Silt
ความร้อน                          Fervour
กระทะไฟฟ้า                     Electric pan

การนำไปประยุกต์ใช้

        ในการจัดการเรียนหรือกิจกรรมสำหรับเด็ก ครูควรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้เด็กได้คิด ได้ออกแบและลองวางแผนด้วยตัวเองส่วนครูนั้นเป็นผู้คอยช่วยเหลือ ให้คำแนะนำและเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพียงเท่านั้น ไม่ควรไปจำกัดความคิดของเด็กควรให้เด็กได้มีอิสระทางควมาคิด

การประเมินผล

ตนเอง : มีการจดบันทึก แสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม มีส่วนร่วมในการออกแบบการพับแผ่นเกี๊ยวและวัตถุดิบในการทำไส้เกี๊ยว
เพื่อน : มีการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน แต่ละกลุ่มมีการออกแบบการพับเกี๊ยวเป็นรูปต่างๆ มีการเลือกวัตถุดิบในการทำไส้เกีียวที่แตกต่างกันไป
อาจารย์ : มีการให้ตอบคำถาม ให้คิดและวิเคราห์อยู่ตลอด มีการชี้แนวทางในการปฏิบัติกิจกรรม 
มีการบรูณาการเรื่องต่างๆในการสอนนักศึกษา






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น