สรุปตัวอย่างการสอนเรื่อง ปฐมวัยสร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส
- ในการจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยนั้นเป็นการเตรียมความพร้อมในทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา
- ในการสอนนั้นครูจะเน้นการใช้ของจริงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้
- ในการเรียนการสอนนั้นจะมีการถามประสบการณ์เดิมของเด็กเพื่อให้เด็กรู้จักการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่
กระบวนการสอนของครู
ขั้นที่ 1 : การใช้ตาในการสังเกต
โดยครูจะให้เด็กใช้ตาในการมองสิ่งของแล้วสังเกตรูปร่าง รูปทรงของสิ่งของแล้วให้เด็กตอบว่าสิ่งของที่เห็นนั้นมีรูปร่าง รูปทรงอย่างไร แล้วถามเด็กว่ามีสิ่งของใดบ้างที่มีรูปทรงแบบนี้ จากนั้นให้เด็กสังเกตขนาดของสิ่งของแล้วนำไปสู่เปรียบเทียบขนาดเล็ก-ใหญ่ของสิ่งของที่กำหนดให้ หลังจากนั้นครูจะให้เด็กฝึกการแยกแยะขนาดด้วยตนเองโดยการเล่นเกมกระบอกพิมพ์ นอกจากเด็กจะได้ใช้ตาในการสังเกตแล้วยังได้ทักษะการพยากรณ์หรือการคาดคะเนอีกด้วย
ขั้นที่ 2 : การใช้หูในการฟัง
โดยครูจะให้เด็กได้ฟังเสียงที่แตกต่างกันจากการเขย่ากล่องเสียงจากเสียงดังที่สุดไปหาเสียงที่เบาที่สุด จากนั้นให้เด็กออกมาเขย่ากล่องเสียงแล้วจับคู่เสียงที่มีระดับความดังเท่ากัน
ขั้นที่ 3 : การใช้มือในการสัมผัส
โดยการให้เด็กได้สัมผัสจากของจริงโดยเริ่มจากากสิ่งของที่มีรูปทรงเรขาคณิต จนไปถึงการสัมผัสเนื้อผ้าที่มีความละเอีดยของเนื้อผ้าแตกต่างกัน แล้วให้เด็กปิดตาแล้วใช้มือในการสัมผัสเนื้อผ้าเพื่อจับคู่ผ้าที่มีความละเอียดแบบเดียวกันหรือเป็นผ้าชนิดเดียวกัน
ขั้นที่ 4 : การใช้จมูกในการดมกลิ่น
โดยการให้เด็กทดลองดมกลิ่นต่างๆแล้วเด็กสามารถบอกได้ว่ากลิ่นที่ได้ดมนั้นเป็นกลิ่นอย่างไร เห็น หอมหรือเป็นกลิ่นแบบใด จากนั้นครูจะให้เด็กดมกลิ่นแล้วจับคู่กลิ่นที่เหมือนกันเพื่อทดสอบว่าเด็กเกิดการเรียนรู้จากการดมกลิ่นแล้ว
ขั้นที่ 5 : การใช้ลิ้นในการชิมรส
โดยครูจะมีรสชาติให้เด็กชิม 4 รสชาติ คือ หวาน เปรี้ยว เค็มและขม เมื่อครูทดลองชิมสิ่งที่เตรียมมาแล้วเด็กสามารถตอบได้ว่าครูกำลังชิมรสชาติใดจากการที่เด็กสังเกตสีหน้าของครูในขณะที่ชิม นั้นเกิดจากการที่เด็กเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมของเด็กเอง และครูยังให้เด็กได้ชิมรสชาติต่างๆแล้วบอกว่าเคยได้ชิมรสชาติแบบนี้จากอะไรบ้าง
*** หัวใจในการเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การให้เด็กเตรียมพร้อมที่จะเรียนในขั้นที่สูงต่อไป***
ขั้นที่ 3 : การใช้มือในการสัมผัส
โดยการให้เด็กได้สัมผัสจากของจริงโดยเริ่มจากากสิ่งของที่มีรูปทรงเรขาคณิต จนไปถึงการสัมผัสเนื้อผ้าที่มีความละเอีดยของเนื้อผ้าแตกต่างกัน แล้วให้เด็กปิดตาแล้วใช้มือในการสัมผัสเนื้อผ้าเพื่อจับคู่ผ้าที่มีความละเอียดแบบเดียวกันหรือเป็นผ้าชนิดเดียวกัน
ขั้นที่ 4 : การใช้จมูกในการดมกลิ่น
โดยการให้เด็กทดลองดมกลิ่นต่างๆแล้วเด็กสามารถบอกได้ว่ากลิ่นที่ได้ดมนั้นเป็นกลิ่นอย่างไร เห็น หอมหรือเป็นกลิ่นแบบใด จากนั้นครูจะให้เด็กดมกลิ่นแล้วจับคู่กลิ่นที่เหมือนกันเพื่อทดสอบว่าเด็กเกิดการเรียนรู้จากการดมกลิ่นแล้ว
ขั้นที่ 5 : การใช้ลิ้นในการชิมรส
โดยครูจะมีรสชาติให้เด็กชิม 4 รสชาติ คือ หวาน เปรี้ยว เค็มและขม เมื่อครูทดลองชิมสิ่งที่เตรียมมาแล้วเด็กสามารถตอบได้ว่าครูกำลังชิมรสชาติใดจากการที่เด็กสังเกตสีหน้าของครูในขณะที่ชิม นั้นเกิดจากการที่เด็กเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมของเด็กเอง และครูยังให้เด็กได้ชิมรสชาติต่างๆแล้วบอกว่าเคยได้ชิมรสชาติแบบนี้จากอะไรบ้าง
*** หัวใจในการเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การให้เด็กเตรียมพร้อมที่จะเรียนในขั้นที่สูงต่อไป***
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น